การถ่ายทอดรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหา



เมื่อเราสามารถแยกรายละเอียดที่จำเป็น ออกมาได้แล้ว ต่อไปเราก็ต้องสามารถถ่ายทอดรายละเอียดไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นข้อความ รูปภาพ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ถ้านักเรียนอยากบอกเพื่อนในห้องว่า “ห่วงใย” นักเรียนจะบอกเป็นข้อความหรือรูปภาพ

ตัวอย่างที่  1

นักเรียนไปเที่ยวสวนสนุก กับเพื่อนสนิท 3 คน  และน้องวัยอนุบาล 1 คน สวนสนุกมีค่าบัตรผ่านประตูคนละ 20 บาท แต่ถ้าเป็นเด็กอนุบาลให้เข้าฟรี จากนั้นได้พากันไปเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ม้าหมุน 1 รอบๆ ละ 30 บาทต่อคน ชิงช้าสวรรค์ 2 รอบๆ ละ 20 บาทต่อคน และรถไฟ 3 รอบๆ ละ 15 บาทต่อคน โดยคุณแม่ให้เงินมา 500 บาท สำหรับค่าเครื่องเล่นของนักเรียนและน้องวัยอนุบาล นักเรียนจะเหลือเงินไปคืนคุณแม่กี่บาท

สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ คือ เงินที่เหลือ ซึ่งเราจะคำนวณได้จากค่าใช้จ่ายของนักเรียนและน้องวัยอนุบาล ส่วนค่าใช้จ่ายของเพื่อนไม่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ

รายละเอียดที่จำเป็น ประกอบด้วย
ค่าใช้จ่ายที่คุณแม่ให้มา 500 บาท
ค่าบัตรผ่านประตู 20 บาท
ค่าม้าหมุน 30 บาท 1 รอบ จำนวน 2 คน
ค่าชิงช้าสวรรค์ 20 บาท 2 รอบ จำนวน 2 คน
ค่ารถไฟ 15 บาท 3 รอบ จำนวน 2 คน

จากรายละเอียดข้างต้น เราสามารถนำไปคำนวณค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
เงินที่ต้องคืน = 500 – (20 + (30 x 1 x 2) + (20 x 2 x 2) + (15 x 3 x 2))  = 280 บาท

ตัวอย่างที่  2

ยายแดงต้องการจ้างคนงานมาตัดหญ้าในสวน ที่มีขนาดพื้นที่ 20 x 15 ตารางเมตร ปัจจุบันมีหญ้าขึ้นสูง 70 เซนติเมตร โดยคิดค่าแรงในการตัดหญ้าตารางเมตรละ 10 บาท แต่ในสวนยายแดง ตรงกลางมีบ่อน้ำรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร  ลึก 2 เมตร มีน้ำเกือบเต็มบ่อ ยายแดงต้องการทราบว่า จะต้องจ่ายค่าแรงตัดหญ้าทั้งสิ้นกี่บาท

สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ คือ ค่าแรง
ข้อมูลจากโจทย์ คือ พื้นที่สวน พื้นที่บ่อน้ำ และค่าแรงต่อตารางเมตร
แนวคิดในการแก้ปัญหา คือ ค่าแรง = (พื้นที่สวน – พื้นที่บ่อน้ำ) x ค่าแรงต่อตารางเมตร

ตัวอย่างที่  3

ยายดำ เลี้ยงควายไว้กลางทุ่ง โดยผูกควายไว้กับหลัก แล้วให้ควายกินหญ้าไปรอบๆ อย่างอิสระในขอบเขตของความยาวเชือก โดยไม่พันกับหลัก ให้นักเรียนออกแบบแผนภาพพื้นที่การกินหญ้าของควาย และต้องการทราบว่า ควายมีพื้นที่ในการเดินกี่ตารางเมตร

สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ คือ แผนภาพการกินหญ้า และความยาวของเส้นเชือก
ข้อมูลจากโจทย์ คือ ควายถูกผูกไว้กับหลัก เดินไปมาได้อิสระ โดยเชือกไม่พันกัน



ตัวอย่างที่  4

ลุงทอง ต้องการเซอร์ไพรซ์วันเกิดลูกสาว โดยการปูกระเบื้องในบ้านเป็นรูปหัวใจ  ข้อมูลที่จำเป็นคืออะไร และมีแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างไร

สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ คือ ข้อมูลที่จำเป็น และแนวคิดในการแก้ปัญหา
ข้อมูลจากโจทย์ คือ พื้นที่รูปหัวใจ



การออกแบบแนวคิดเชิงนามธรรมในการแก้ปัญหา นักเรียนต้องแยกคุณลักษณะที่สำคัญ ออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และต้องถ่ายทอดรายละเอียดของปัญหาให้กระชับ จะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น และถ้าเราเจอปัญหาที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน นักเรียนก็จะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วครับ

ความคิดเห็น