ผังงาน



การถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจ เพื่อไปสู่การนำไปสู่การแก้ปัญหา  นิยมถ่ายทอดให้อยู่ในรูปของข้อความที่เรียงกันเป็นลำดับซึ่งเรียกว่า รหัสลำลอง (pseudo code) หรืออยู่ในรูปผังงาน (flowchart)

นักเรียนได้เรียนรู้การเขียนรหัสลำลองมาแล้ว ก็จะช่วยให้เข้าใจการเขียนผังงานได้ง่ายขึ้น โดยนักเรียนต้องจดจำความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนผังงาน

ผังงาน  (Flowchart)  คือ  แผนภาพแสดงการทำงานของโปรแกรม  โดยใช้สัญลักษณ์แสดงขั้นตอนและลักษณะการทำงานแบบต่างๆ  สัญลักษณ์เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงด้วยลูกศรเพื่อแสดงลำดับการทำงาน  ช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานโดยรวมของโปรแกรม  สะดวกต่อการตรวจสอบความถูกต้องของลำดับการทำงานและการไหลของข้อมูลในโปรแกรม 

การเขียนผังงานจะใช้สัญลักษณ์สื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกันของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (The American National Standard Institute, ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีรายละเอียดรูปแบบและความหมายที่ควรทราบตามตารางต่อไปนี้

สัญลักษณ์พื้นฐานสำหรับการเขียนผังงาน

ตัวอย่างที่  1 รหัสลำลองและผังงานการคำนวณพื้นที่รูปวงกลม



ตัวอย่างที่  2  รหัสลำลองและผังงานการลงทะเบียนชุมนุมในเว็บไซต์โรงเรียน



ตัวอย่างที่  3  Pseudocode and flowchart of the sums of 3 numbers



ตัวอย่างที่  4 รหัสลำลองและผังงานแบบมีเงื่อนไข



ตัวอย่างที่  5  รหัสลำลองและผังงานแบบวนซ้ำ



ประโยชน์ของผังงาน
          1. ช่วยให้เห็นลำดับการทำงานได้อย่างชัดเจน
          2. ช่วยตรวจสอบความผิดพลาดในการทำงานได้ง่าย
          3. ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานและแก้ไขขั้นตอนการทำงานได้ง่าย

ข้อสังเกตในการเขียนผังงาน
         1. ทุกผังงานจะมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอย่างละแห่งเดียวเท่านั้น
         2. ทุกสัญลักษณ์จะมีจุดเข้า 1 จุด และจุดออก 1 จุด เท่านั้น ยกเว้น จุดเชื่อมต่อและการตัดสินใจ                       
         3. ทิศทางของผังงาน นิยมเขียนจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา
         4. หลีกเลี่ยงการโยงเส้นตัดกัน
         5. ต้องใช้สัญลักษณ์ตามมาตรฐานเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนแปลง
         6. เส้นเชื่อมโยงต้องมีหัวลูกศรกำกับทิศทางการไหล
         7. การตัดสินใจต้องเขียนคำอธิบายว่า จริง หรือ เท็จ กำกับที่จุดออก
         8. การเขียนผังงานต้องเขียนให้เป็นระเบียบ สะอาด เรียบร้อย

ความคิดเห็น