แนวคิดเชิงนามธรรม



ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน นักเรียนจะต้องพิจารณารายละเอียด ทำความเข้าใจเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และต้องทราบประเด็นที่สำคัญ จึงจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เช่น นักเรียนได้รับมอบหมายจากคุณแม่ ให้ไปซื้อของมาทำผัดกะเพรา นักเรียนต้องพิจารณาว่า ผัดกะเพราทำอย่างไร มีวัตถุดิบอะไรบ้าง  ในครัวของเรา มีอะไรบ้าง ในสวนครัวมีอะไรบ้าง งบประมาณที่คุณแม่ให้ใช้มีเท่าไหร่ เมื่อไปที่ตลาดจะเดินไปร้านไหน จึงจะซื้อของได้คุณภาพดีและประหยัด ถ้าหากนักเรียนทราบข้อมูลต่างๆ แล้วนักเรียนจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำแนวคิดเชิงนามธรรมมาใช้แก้ปัญหา จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking หรือ abstraction) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ซึ่งใช้กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อย ในปัญหาหรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างที่  1  ป้ายห้องน้ำ

นี่คือป้ายห้องน้ำ ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ทันที ว่าเป็นห้องน้ำหญิง ห้องน้ำชาย และห้องน้ำผู้พิการ ซึ่งการใช้แนวคิดเชิงนามธรรม จะช่วยลดทอนรายละเอียดให้น้อยที่สุด ให้เหลือเพียงสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารเท่านั้น

ตัวอย่างที่  2  สะพานเจ็ดแห่งของโคนิสเบิร์ก

สะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองเคอนิชส์แบร์ค (Seven Bridges of Königsberg) เป็นปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานที่ คือ เมืองเคอนิชส์แบร์ค ในปรัสเซีย (ปัจจุบันคือคาลีนินกราด ประเทศรัสเซีย ในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำเพรเกิลและมีเกาะอยู่ 2 เกาะเชื่อมต่อถึงกันด้วยสะพานทั้ง 7 สะพาน คำถามคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเดินให้ครบทุกสะพาน โดยผ่านแต่ละสะพานเพียงครั้งเดียวและกลับมาที่จุดเริ่มต้นได้ ในพ.ศ. 2279 (ค.ศ. 1736) เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้พิสูจน์ว่าไม่มีทางเป็นไปได้

ออยเลอร์ ได้แสดงแนวคิดในการหาคำตอบดังกล่าว ดังภาพ

นักเรียนทดลองวาดเส้นทางจากบ้านมาโรงเรียน เส้นทางของนักเรียนจะมีลักษณะอย่างไร

จะเห็นได้ว่าเมื่อเราใช้แนวคิดเชิงคำนวณมาใช้กับการแก้ปัญหา จะช่วยให้เราเข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น และนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความคิดเห็น