เราจะเอาฟอนต์สารบรรณ มาจากไหน

ตอนนี้มีเพื่อนครูหลายท่าน มาถามว่า จะเอาฟอนต์สารบรรณ (TH SarabunPSK) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างไร มันมีอยู่ในเครื่องหรือเปล่า ถ้ามีมันอยู่ตรงไหน? ฯลฯ มากมายคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งขอสรุปขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้ะครับ


รูปภาพจากเว็บ sipa.or.th


1. โหลด เราต้องไปโหลดจากเว็บผู้พัฒนา ซึ่งก็คือ SIPA (www.sipa.or.th)
2. ติดตั้งฟอนต์ (ถ้าไม่เคยทำมาก่อน มันจะเป็นอะไรที่ยุ่งยาก แต่ไ่ม่ยากจนเกินไป)

ซึ่ง 2 ขั้นตอนที่กล่าวมาอาจยุ่งยากไปบ้าง ผู้พัฒนาเขามีโปรแกรมช่วยติดตั้ง เพียงแค่โหลด โปรแกรมติดตั้งฟอนต์โดยอัตโนมัติ (EXE) จากนั้นก็คลิก open แล้วก็ nextๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถใช้งานฟอนต์สารบรรณได้เก๋ไก๋ อินเทรนเหมือนชาวบ้านเขาครับ

"ทำไมเราต้องใช้ฟอนต์สารบรรณ?" คำตอบมีดังนี้ครับ


คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่น ๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สอซช.) หรือ “Software Industry Promotion Agency” เรียกโดยย่อว่า “SIPA” และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มเข้าไปในระบบ ปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) และใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม  ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.)เสนอ ทั้งนี้ เพื่อให้เอกสารต่างๆ ของภาครัฐ เป็นไปอย่างมีมาตรฐานปราศจากปัญหาลิขสิทธิ์และไม่ได้ขึ้นกับระบบปฏิบัติการ ระบบใดระบบหนึ่งและเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2553 โดยให้หน่วยงานราชการปฏิบัติดังนี้
                 1. ดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่น ๆ ทั้งหมดจำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย
                 2. ให้ ติดตั้งและใช้งานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2553 และให้รายงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) เมื่อได้ดำเนินการแล้วเสร็จ

สารบรรณ กับ สารบัญ คนละความหมายกันนะครับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายของคำทั้งสองคำนี้ไว้ว่า

  • สารบรรณ = น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน, เรียกงานที่เกี่ยวกับ    การบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร ว่า งานสารบรรณ.
  • สารบัญ (เขียนได้อีกแบบว่า "สารบาญ") = น. บัญชีเรื่อง, รายชื่อเรื่อง. (ตัดจาก สารบัญชี และสารบาญชี).

สืบค้นพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ที่เว็บนี้ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ความคิดเห็น